เมนู

คำว่า ย่อมไม่สลัด ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มี ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ย่อมไม่สลัด. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.
บทว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก
คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ
ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้).

จบอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15

อรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15


พึงทราบวินิจฉัยในอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15 ดังต่อไปนี้.
พึงทราบความในคาถาที่หนึ่ง มีคำเริ่มต้นว่า อตฺตทณฺฑา ภยํ ชาตํ
ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ดังนี้.
ภัยใด เป็นไปในโลกปัจจุบัน หรือเป็นไปในสัมปรายภพเกิดแล้ว
ภัยนั้นทั้งหมดเกิดแต่อาชญาของตน คือเกิดแต่เหตุประพฤติชั่วของตน
เมื่อเป็นอย่างนี้ พวกท่านจงดูชนที่ทุ่มเถียงกัน คือจงดูชนมีเจ้าศากยะ
เป็นต้นนี้ ทุ่มเถียงกันและกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอบรมชน

ผู้ทำร้ายกัน ผู้ปฏิบัติผิดต่อกันนั้นอย่างนี้แล้ว เพื่อให้ชนนั้นเกิดความ
สังเวชด้วยการแสดงถึงการปฏิบัติชอบของพระองค์ จึงตรัสว่า
เราจักแสดงความสังเวชตามที่เราได้สังเวชมาแล้ว.
อธิบายว่า เมื่อก่อนเราเป็นพระโพธิสัตว์ ระลึกได้แล้ว.
บทว่า ตโย คือ กำหนดจำนวน. บทว่า ทณฺฑา อาชญา คือ
ทุจริต. บทว่า กายทณฺโฑ อาชญาทางกาย คือ กายทุจริต. แม้ในอาชญา
ทางวาจาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ติวิธํ กายทุจฺจริตํ กายทุจริต
มี 3 อย่าง อันได้แก่ความประพฤติชั่วเป็นไปทางกาย มีปาณาติบาต
เป็นต้น. หรือประพฤติชั่ว เพราะเน่าด้วยกิเลส เพราะเหตุนั้น จึงได้
ชื่อว่า ทุจริต 3 อย่าง. บทว่า จตุพฺพิธํ คือ วจีทุจริต 4 อย่างมีมุสาวาท
เป็นต้น. บทว่า ติวิธํ คือ มโนทุจริต 3 อย่าง มีอภิชฌา (โลภอยาก
ได้ของเขา) เป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกํ ภัยในชาตินี้ คือภัยที่ได้รับใน
ชาตินี้ คือในอัตภาพนี้. บทว่า สมฺปรายิกํ คือ ภัยที่ได้รับในอัตภาพยังมา
ไม่ถึง. บทว่า อาคุจารี คือ เป็นผู้ประพฤติชั่วประพฤติผิด. บทว่า ตเมนํ
ราชา ปริภาสติ
พระราชาทรงบริภาษคนผู้นั้น คือพระราชาทรงบริภาษ
คนทำชั่ว ให้เกิดความกลัว. บทว่า ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ปฏิสํเวเทติ ให้เสวย
ทุกข์โทมนัส คือเสวยทุกข์ทางกาย โทมนัสทางใจ. บทว่า เอตํ ภยํ ทุกฺขํ
โทมนสฺสํ
คือ ภัยทุกข์และโทมนัสนั้น. บทว่า กุโต ตสฺส คือ เกิดแต่
อะไร. บทว่า อตฺตทณฺฑโต ชาตํ เกิดแต่อาชญา คือเกิดแต่ทุจริตที่ตน
กระทำ. บทว่า อนฺตมโส คือ โดยอย่างต่ำ. บทว่า สวจนียมฺปิ กโรติ น เต
ลพฺภา อิโต ปกฺกมิตุํ
พระราชามีพระกระแตรับสั่งว่า มันจะหนีจากสถาน
เป็นที่จองจำนี้ไปไม่ได้ คือทรงบังคับว่า โจรพวกนั้นมันจะไปจากบ้าน

เป็นต้นนี้ ออกไปภายนอกไม่ได้. บทว่า ธนชานิปจฺจยาปิ คือ แม้
เพราะเหตุแห่งความสูญเสียทรัพย์. พระราชารับสั่งให้ลงโทษโจรนั้นหลาย
อย่าง. บทว่า กสาหิปิ ตาเฬนฺติ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง. เวตฺเตหิปิ
ตาเฬนฺติ
คือ ให้เฆี่ยนด้วยหวายมีหนามบ้าง. บทมีอาทิว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ
ด้วยไม้พลอง มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺติ
ให้สุนัขกัดกินบ้าง คือให้สุนัขที่หิวเพราะไม่ได้อาหารมา 2-3 วัน กัดกิน.
สุนัขเหล่านั้น เพียงครู่เดียวก็กัดกินเหลือแต่ร่างกระดูกเท่านั้น. บทว่า
สูเล อุตฺตาเสนฺติ คือ ให้นอนบนหลาวบ้าง. บทว่า ราชา อิเมสํ จตุนฺนํ
ทณฺฑานํ อิสฺสโร
พระราชาเป็นใหญ่ในอาชญา 4 อย่างแหล่านี้ คือ
พระราชาสามารถจะลงอาชญา 4 อย่างเหล่านี้. บทว่า สเกน กมฺเมน
คือ ด้วยกรรมที่ตนทำ. ในบทว่า ตเมนํ นิรยปาลา นี้ พระเถระบางพวก
กล่าวว่า พวกนายนิรยบาลไม่มีให้ทำกรรมกรณ์ ดุจรูปยนต์เท่านั้น.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกนายนิรยบาลมีในนรก. ในอภิธรรมรับรอง
ไว้โดยนัยมีอาทิว่า เออ ผู้ลงกรรมกรณ์มีอยู่. พวกนิรยบาลในนรกมีเหมือน
ในมนุษยโลก ที่มีพวกลงโทษ. บทว่า ตตฺตํ อโยขิลํ หลาวเหล็กร้อน
คือให้สัตว์นรกมีร่างกาย 3 คาวุต นอนหงายบนแผ่นดินโลหะ ไฟลุก
โพลงแล้วเอาหลาวเหล็กประมาณเท่าลำตาลสอดเข้าไปที่มือขวา ในมือซ้าย
เป็นต้นก็เหมือนกัน. ให้สัตว์นรกนอนคว่ำบ้าง ตะแคงซ้ายบ้าง ตะแคง
ขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายลงกรรมกรณ์นั้น. บทว่า สํเวเสตฺวา ให้
นอนลง คือให้ร่างประมาณ 3 คาวุต นอนลงบนแผ่นดินเหล็กอันลุก
โพลง. บทว่า กุธารีหิ ด้วยผึ่ง คือเอาผึ่งใหญ่ประมาณปีกข้างหนึ่งของ
หลังคาเรือนถาก. เลือดไหลเหมือนน้ำไหล. เปลวไฟลุกขึ้นจากแผ่นดิน

โลหะจดถึงที่ถาก. เกิดมหาทุกข์. อนึ่ง เมื่อถาก ถากไปตามเส้นบรรทัด
เป็น 8 เหลี่ยมบ้าง 6 เหลี่ยมบ้าง เหมือนถากไม้. บทว่า วาสีหิ คือ
ด้วยมีด ประมาณเท่ากระด้งใหญ่. บทว่า รเถ โยเชตฺวา เทียมเข้าที่รถ
คือเทียมที่รถมีไฟลุกโพลงไปทั่วกับแอก เชือก กระพอง ล้อ ทูบ ปฏัก.
บทว่า มหนฺตํ คือ ภูเขาถ่านเพลิงให้ประมาณเท่าเรือนยอด. บทว่า
อาโรเปนฺติ ให้ขึ้น คือเอาค้อนเหล็กมีไฟลุกโพลงโบยให้ขึ้นภูเขาถ่าน
เพลิง. บทว่า สกิมฺปิ อุทฺธํ บางครั้งก็เดือดพล่านไปข้างบน คือไปข้าง
บนข้างล่างและทางขวาง เหมือนข้าวสารที่ใส่ไว้ในหม้ออันเดือดพล่าน.
บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.
บทว่า จตุกฺกณฺโณ มหานรกมี 4 มุม คือเช่นกับหีบสี่เหลี่ยม
จตุรัส. บทว่า วิภตฺโต คือ จำแนกออกโดยประตู 4 ช่อง. บทว่า ภาคโส
มิโต
จำแนกออกโดยส่วน คือสร้างจำแนกออกโดยส่วนแห่งประตูและ
ถนน. บทว่า ปริยตฺโต คือ ล้อมรอบ. บทว่า อยสา คือ มีแผ่นเหล็ก
ประมาณ 9 โยชน์ครอบไว้ข้างบน. บทว่า สนนฺตา โยชนสตํ ผริตฺวา
ติฏฺฐติ
แผ่ไปร้อยโยชน์ตั้งอยู่โดยรอบ คือแผ่ไปตั้งอยู่ โดยที่เมื่อบุคคล
ยืนแลดูอยู่ในที่ร้อยโยชน์โคตรอบ ตาทั้งสองข้างจะถลนออกเหมือนลูกกลม
คู่. บทว่า กทริยา ตปนา มหานรกอันเป็นที่น่าสยดสยองเผาผลาญ คือ
มหานรก 8 ขุม กับอุสสทนรก แม้ทั้งหมดเหล่านั้น เป็นที่น่าสยดสยอง
เผาผลาญสัตว์อยู่เป็นนิจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กทริยา ตปนา. มหานรก
ชื่อว่า ร้ายแรง เพราะให้เกิดทุกข์ร้ายแรง ชื่อว่า มีเปลวไฟ เพราะมีเปลว-
ไฟตั้งอยู่ตลอดกัป ชื่อว่า แสนยากที่จะเข้าใกล้ เพราะทำได้ยากเพื่อจะให้
ขัดเคือง เพื่อกระทบกระทั่ง ชื่อว่า น่าขนลุกขนพอง เพราะเพียงเห็น หรือ

เพียงได้ยินขนก็ลุกชันเสียแล้ว ชื่อว่า น่ากลัว เพราะน่าครั่นคร้าม ชื่อว่า
ให้เกิดภัย เพราะให้เกิดความกลัว ชื่อว่า ให้เกิดทุกข์ เพราะไม่มีความสุข.
พึงทราบความสังเขปแห่งคาถามีอาทิว่า ปุรตฺถิมาย จ ภิตฺติยา
เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศตะวันออกอย่างนี้ถึงอเวจีมหานรกเป็นที่สุด,
มหานรกชื่ออเวจี เพราะไม่มีคลื่น1ในระหว่างของเปลวไฟ หรือของสัตว์
ทั้งหลาย หรือของทุกข์ของสัตว์เหล่านั้น. เพราะว่าในอเวจีนั้น กลุ่ม
เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ฝาด้านทิศตะวันออกเป็นต้น แล้วเผาบุคคลผู้มีกรรมชั่ว
พังฝาด้านทิศตะวันตกออกไป. กลุ่มเปลวไฟทะลุฝาเหล่านั้นพุ่งไปข้างหน้า
100 โยชน์. กลุ่มเปลวไฟตั้งอยู่ข้างล่างไปกระทบข้างบน ดังอยู่ข้างบนลง
กระทบข้างล่าง. ในอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของเปลวไฟเลยอย่างนี้. ที่ 100
โยชน์ในภายในอเวจีนั้น เต็มไปด้วยสัตว์นรกไม่มีช่องว่าง เหมือนทะนาน
เต็มไปด้วยแป้งทำด้วยเถาน้ำนม. สัตว์นรกสุดแดนนรก ไม่มีกำหนดด้วย
อิริยาบถ 4. สัตว์นรกไม่เบียดเบียนกัน หมกไหม้อยู่ในที่เดียวกัน. ใน
นรกอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของสัตว์นรกอย่างนี้. อนึ่ง หยาดน้ำผึ้ง 6 หยาด
บนปลายลิ้น ย่อมเป็นอัพโพหาริก เพราะหยาดน้ำทองแดงหยาดที่ 7
มีกำลังเผาไหม้หมด ฉันใด อุเบกขาอกุสลวิบาก 6 ที่เหลือ ย่อมเป็น
อัพโพหาริก เพราะมีกำลังในการเผาผลาญในนรกนั้น. ทุกข์เท่านั้นปรากฏ
ไม่มีระหว่าง. ในนรกอเวจีนี้ชื่อว่าไม่มีคลื่นของทุกข์เลยอย่างนี้. ชื่อว่า
นรกเพราะปราศจากความยินดี.
บทว่า ตตฺถ สตฺตา มหาลุทฺทา คือ สัตว์ที่เกิดในนรกอเวจีนั้น มี
กรรมหยาบมาก. บทว่า มหากิพฺพิสการิโน คือ ทำกรรมร้ายแรงมาก.
บทว่า อจฺจนฺตปาปกมฺมนฺตา คือ มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว. บทว่า

1. คือไม่มีความขาดตอน.

ปจฺจนฺติ น จ มิยฺยเร คือ หมกไหม้อยู่ในระหว่างเปลวไฟ แต่ไม่ตาย.
บทว่า ชาตเวทสโม กาโย คือ ร่างกายของสัตว์นรกเหล่านั้น เช่นกับ
ไฟ. บทว่า เตสํ นิรยวาสีนํ คือ สัตว์ผู้อยู่ในนรกเหล่านั้น เป็นผู้มีบาป-
กรรม. บทว่า ปสฺส กมฺมานํ ทฬฺหตฺตํ คือ จงดูความมั่นคงของบาป-
กรรม. บทว่า น ภสฺมา โหนฺติ นปิ มสิ คือ เถ้าและเขม่ามิได้มีเลย.
บทว่า ปุรตฺถิเมน ข้างทิศตะวันออก คือตราบใดประตูยังไม่ปิด สัตว์
นรกก็วิ่งมุ่งหน้าไปทางประตูนั้น. ผิวหนังเป็นต้นของสัตว์นรกเหล่านั้น
ย่อมไหม้ที่ประตูนั้น. เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นไปถึงใกล้ประตู ประตูนั้นก็
ปิด ประตูหลังปรากฏดุจไม่ได้ปิดไว้. ในบททั้งหมดก็มีนัยนี้. บทว่า
นิกฺขมิตาสา เต คือ สัตว์นรกเหล่านั้นมีความหวังเพื่อจะออก จึงชื่อว่า
นิกฺขมิตาสา. บทว่า โมกฺขํ คเวสิโน คือ แสวงหาอุบายที่จะออก.
บทว่า น เต ตโต นิกฺขมิตุํ ลภนฺติ กมฺมปจฺจยา คือ สัตว์เหล่านั้นออก
จากนรกนั้นไม่ได้ เพราะบาปกรรมเป็นปัจจัย. บทว่า เตสญฺจ
ปาปกมฺมนฺตํ อวิปกฺกํ กตํ พหุํ
เพราะบาปกรรมที่สัตว์เหล่านั้นทำไว้มาก
ยังมิได้ให้ผลหมดสิ้น คือกรรมลามกหยาบช้าที่สัตว์เหล่านั้นทำสะสมไว้มี
อยู่มากมายนานัปการ ยังไม่ให้ผล.
บทว่า สํเวคํ ความสังเวช คือความระอา. บทว่า อุพฺเพคํ ความ
สะดุ้ง คือไปจากที่ยืนอยู่. บทว่า อุตฺราสํ ความหวาดเสียว คือความ
ยุ่งยากใจ ไม่ตกลงใจ. บทว่า ภยํ ความกลัว คือจิตสะดุ้ง. บทว่า
ปีฬนํ ความบีบคั้น คือความเสียดสี. บทว่า ฆฏฺฏนํ ความกระทบ คือ
ทำการบีบคั้น. บทว่า อุปทฺทวํ ความเบียดเบียน คือจัญไร. บทว่า
อุปสคฺคํ ความขัดข้อง คือการปิดกั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงประการที่พระองค์ทรง
สังเวชมาแล้ว จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ผนฺทมานํ หมู่สัตว์ดิ้นรนอยู่ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทมานํ คือ ดิ้นรนด้วยตัณหาเป็นต้น.
บทว่า อปฺโปทเก คือ ในน้ำน้อย. บทว่า อญฺญมญฺเญหิ พฺยารุทฺเธ
ทิสฺวา
เห็นสัตว์ทั้งหลายทำร้ายกันและกัน คือเห็นสัตว์ต่าง ๆ ทำร้ายกับ
สัตว์อื่น ๆ. บทว่า มํ ภยมามิสิ คือ ภัยเข้ามาถึงเราแล้ว.
บทว่า กิเลสผนฺทนาย ผนฺทมานํ ดิ้นรนเพราะกิเลส คือหวั่นไหว
ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า ปโยโค ได้แก่ กายประโยค วจีประโยค
และมโนประโยค. บทว่า วิรุทฺธา ทำร้ายกัน คือถึงความพิโรธกัน.
บทว่า ปฏิวิรุทฺธา ทำร้ายตอบกัน คือหันหน้าทะเลาะกัน. หรือตรงเข้า
ทำร้ายกัน . บทว่า อาหตา เคืองกัน คือประกันประหารกันด้วยความ
โกรธ. บทว่า ปจฺจาหตา เคืองตอบกัน คือเป็นมวยปล้ำต่อสู้กัน. บทว่า
อาฆาติตา ปองร้ายกัน คือกระทบกระทั่งกัน . บทว่า ปจฺจาฆฏฺฏิตา
ปองร้ายตอบกัน คือกระทบกระทั่งกันอย่างแรง. บทว่า ปาณีหิปิ
อุปกฺกมนฺติ
คือ ตบตีกันด้วยมือบ้าง.
บทว่า สมนฺตมสาโร โลโก โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร คือโลก
ทั้งหมดตั้งแต่นรกเป็นต้น. ไม่เป็นแก่นสาร คือเว้นจากแก่นสารที่เป็น
ของเที่ยงเป็นต้น. บทว่า ทิสา สพฺพา สเมริตา คือ สังขารทั้งหลาย
หวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง เพราะความไม่เที่ยง. บทว่า อิจฺฉํ ภวน-
มตฺตโน
เมื่อปรารถนาความเจริญเพื่อตน คือเมื่อปรารถนาความต้านทาน
เพื่อตน. บทว่า นาทฺทสาสึ อโนสิตํ คือ ไม่ได้เห็นฐานะอะไรๆ อัน
ไม่ถูกครอบงำด้วยชราเป็นต้น.

บทว่า อสฺสาโร คือ ไม่เป็นแก่นสารหรือเว้นจากแก่นสาร. บทว่า
นิสฺสาโร คือ เว้นจากแก่นสารด้วยประการทั้งปวง. บทว่า สาราปคโต
คือ ปราศจากแก่นสาร. บทว่า นิจฺจสารสาเรน วา โดยแก่นสารที่เป็น
ของเที่ยง คือแก่นสารที่นับว่าเป็นแก่นสารตลอดไป. แม้สองบทต่อไป
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เย ปุรตฺถิมาย ทิสาย สงฺขารา สังขาร
ทั้งหลายในทิศตะวันออก คือสังขารทั้งหลายที่ร่วมกันทำขึ้นด้วยปัจจัยใน
ทิศตะวันออก. บทว่า เตปิ เอริตา คือ แม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหว.
บทว่า สเมริตา สะเทือน คือหวั่นไหวยิ่ง. บทว่า จลิตา สะท้าน คือ
ไปสู่ความหวั่นไหว. บทว่า ฆฏฺฏิตา เอนเอียง คือถูกความเกิดความดับ
บีบคั้น. บทว่า อนิจฺจตาย คือ เพราะเป็นแล้วไม่เป็น. บทว่า ชาติยา
อนุคตา
อันชาติติดตาม คืออันความเกิดเข้าไปติดตาม. บทว่า ชราย
อนุสฏา
อันชราห้อมล้อม คือถูกเบียดเบียนเพราะความแก่หง่อม. บทว่า
พฺยาธินา อภิภูตา อันพยาธิครอบงำ คือถูกพยาธิอันเกิดขึ้นเพราะความ
เปลี่ยนแปลงของธาตุครอบงำ. บทว่า มรเณน อพฺภาหตา คือ ถูกมรณะ
กำจัด. บทว่า อตาณา ไม่มีที่ต้านทาน คือเว้นจากการรักษา. บทว่า
อเลณา ไม่มีที่หลีกเร้น คือเว้นจากที่หลีกเร้น. บทว่า อสรณา คือ ไม่
มีที่พึ่ง. บทว่า อสรณีภูตา เป็นสภาพไม่มีที่พึ่ง คือไม่ทำกิจของที่พึ่ง
เอง. บทว่า อตฺตโน ภวนํ ความเจริญเพื่อตน เป็นบทยกขึ้นเพื่อขยาย
ความ. บทว่า ตาณํ ที่ป้องกัน คือที่รักษา. บทว่า เลณํ คือ ที่หลีกเร้น.
บทว่า สรณํ ที่พึ่ง คือที่ยังทุกข์ให้พินาศไป. บทว่า คตึ ที่ดำเนิน คือ
ที่อาศัย. บทว่า ปรายนํ ที่ก้าวหน้า คือที่ไปในเบื้องหน้า ชื่อว่า ปรายนํ.
บทว่า อชฺโณสิตํ เยว อทฺทสํ ได้เห็นฐานะทั้งปวงถูกครอบงำ คือได้

เห็นฐานะทั้งปวงถูกชราเป็นต้นย่ำยี. บทว่า สพฺพํ โยพฺพญฺญํ คือ ความ
เป็นหนุ่มสาวทั้งปวง ชื่อว่า โยพฺพญฺญํ. ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงของ
สัตว์ผู้ยังมีจิตใจ. บทว่า ชราย โอสิตํ ถูกชราครอบงำ คือถูกชรา คือ
ความแก่หง่อมครอบงำย่ำยี. ในบททั้งปวงก็เป็นอย่างนี้.
บทว่า โอสาเน เตฺวว พฺยารุทฺเธ ทิสฺวา เม อรติ อหุ
เพราะได้เห็นสัตว์ทั้งหลายมีที่สิ้นสุดมีที่สกัดกั้น เราจึงได้มีความไม่ยินดี
คือได้เห็นสัตว์ทั้งหลายมีที่สิ้นสุด มีที่ตั้งอยู่ไม่ได้ มีที่พินาศทั้งนั้น มีที่
สกัดกั้น มีจิตถูกกำจัดด้วยความชราเป็นต้นของความเป็นหนุ่มสาว เรา
จึงได้มีความไม่ยินดี. บทว่า อเถตฺถ สลฺลํ อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรอันเห็น
ได้ยากในสัตว์เหล่านั้น คือลูกศรมีราคะเป็นต้น ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้.
บทว่า หทยนิสฺสิตํ คือ อาศัยจิต. บทว่า โยพฺพญฺญํ ชรา โวสาเปติ
ชรายังความหนุ่มสาวให้สิ้นสุด คือให้สัตว์อยู่ไม่ได้ ให้พินาศไป. ในบท
ทั้งปวงก็มีนัยอย่างนี้.
ลูกศรมีอานุภาพอย่างไร. พึงทราบคาถาว่า เยน สลฺเลน โอติณฺโณ
สัตว์อันลูกศรใดปักติดแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ทิสา สพฺพา วิธาวติ สัตว์ย่อมแล่นไปสู่ทิศทั้งปวง คือ
สัตว์ย่อมแล่นไปสู่ทิศที่เป็นทุจริตบ้าง ทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้นบ้าง
ทิศที่เป็นคติบ้าง. บทว่า ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีหติ
เพราะถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่จมลง. คือ เพราะ
ถอนลูกศรนั้นเสียแล้ว ย่อมไม่แล่นไปสู่ทิศเหล่านั้น และไม่จมลงใน
โอฆะ 4.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า อญาณํ ความไม่รู้ต่อไป. ความ

ไม่รู้ ความไม่เห็น เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ความเห็น ชื่อว่าไม่
ตรัสรู้ เพราะเป็นผู้มุ่งหน้าแล้วต่อญาณไม่รวมลงในธรรม คือไม่ประชุม
กัน. ชื่อว่าตามตรัสรู้ เพราะรู้ธรรมตามสมควร. ชื่อว่าไม่ตามตรัสรู้
เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการตามตรัสรู้นั้น. ชื่อว่าไม่ตรัสรู้ชอบ เพราะไม่
ตรัสรู้ประกอบด้วยพระไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชื่อว่า
ไม่ตรัสรู้ชอบ เพราะรู้ความไม่สงบ และความไม่เหมาะสมบ้าง. ชื่อว่าไม่
แทงตลอด เพราะไม่แทงตลอดอริยสัจ 4. ชื่อว่าไม่ถือเหตุด้วยดี เพราะไม่
ถือธรรมอย่างหนึ่งในรูปเป็นต้น โดยความเป็นสามัญ ลักษณะมีความไม่
เที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่าไม่หยั่งรู้เหตุ เพราะไม่หยั่งลงสู่ธรรมนั้นนั่นเอง. ชื่อว่า
ความไม่เพ่งพินิจ เพราะไม่เพ่งโดยสม่ำเสมอ. ชื่อว่าความไม่พิจารณา
เพราะไม่พิจารณาเฉพาะสภาวะของธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่ากรรมที่ไม่ทำให้
ประจักษ์ เพราะไม่มีกรรมแม้อย่างเดียวให้ประจักษ์แก่โมหะนั้น เพราะ
ประพฤติวิปริตในกุศลกรรมและอกุศลกรรม หรือเพราะไม่มีการถือความ
เป็นจริงหรือไม่มีการการทำกรรมไร ๆ ให้ประจักษ์เอง. ชื่อว่าความไม่
ผ่องแผ้ว เพราะเมื่อโมหะยังไม่เกิด จิตสันดานใดพึงเป็นความผ่องแผ้ว
สะอาดบริสุทธิ์ จิตสันดานอันเป็นความผ่องแผ้วนั้นถูกโมหะนี้ประทุษร้าย.
ชื่อว่าความเป็นคนโง่ เพราะความเป็นพาล. ชื่อว่าความหลง เพราะลุ่มหลง
ความหลงมีกำลัง ชื่อว่าความหลงทั่ว. ชื่อว่าความหลงพร้อม เพราะหลง
รอบด้าน. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่รู้ โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้ อวิชชา-
โอฆะ (ห้วงอวิชชา) อวิชชาโยคะ (ประกอบสัตว์ไว้ในภพคืออวิชชา)
ทั้งสองนี้มีความได้กล่าวไว้แล้ว. ชื่อว่า อนุสัย เพราะนอนเนื่องด้วยความ
มีกำลัง ชื่อว่า ปริยุฏฐานะ เพราะท่วมทับครอบงำจิต. ชื่อว่า ลังคิ (ลิ่มคือ

อวิชชา) เพราะไม่สามารถจะมุ่งหน้าไปสู่ประโยชน์เกื้อกูลได้ เพราะไม่มี
การถือประโยชน์ ย่อมติดแน่นอยู่โดยแท้ อธิบายว่า กะโผลกกะแผลก.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลังคิ เพราะกำจัดได้ยาก. แม้โมหะนี้ ก็ชื่อว่าลังคิ
เพราะเป็นดุจลิ่ม. บทที่เหลือมีความง่ายทั้งนั้น.
พึงทราบความในบทว่า ยา เอวรูปา กงฺขา ดังนี้เป็นต้นต่อไป
ชื่อว่าความสงสัย ด้วยอำนาจแห่งความเคลือบแคลง. ชื่อว่ากิริยาที่สงสัย
เพราะเดินไปสู่ความสงสัย. ความสงสัยยิ่งกว่าความสงสัยในก่อน ชื่อว่า
กิริยาที่สงสัย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวบทนี้ด้วยอำนาจแห่งอาการ. จิต
ที่เปี่ยมไปด้วยความสงสัย ชื่อว่าความเป็นไปกับด้วยความสงสัย เพราะ
เนื่องด้วยความสงสัย. ความเป็นแห่งความเป็นไปกับด้วยความสงสัย ชื่อว่า
ความเป็นผู้สงสัย. ไม่มีความเห็น ชื่อว่าความเคลือบแคลง. ชื่อว่าความ
ลังเล เพราะเป็นเหตุค้นหาสภาวธรรมอยู่ยากลำบาก. วิจิกิจฉานั้น มี
ความสงสัยเป็นรส มีความหวั่นไหวเป็นลักษณะ มีความไม่ตัดสินใจ
เป็นเครื่องปรากฏ หรือมีความยึดถือหลาย ๆ ส่วนเป็นเครื่องปรากฏ มีการ
ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เป็นปทัฏฐาน. พึงเห็นว่า ความสงสัยทำ
อันตรายแก่การปฏิบัติ. ชื่อว่าความเป็นสองทาง เพราะเอนเอียงไป
สองส่วนด้วยความหวั่นไหว. ชื่อว่าเป็นทางสองแพร่ง เพราะเป็นดุจทาง
สองแยก ด้วยห้ามการปฏิบัติ. ชื่อว่าไม่แน่ใจ เพราะอยู่โดยรอบ เพราะ
ไม่สามารถจะดำรงอยู่ได้ในอาการอย่างเดียว ด้วยความเป็นไปมีอาทิว่า
นี้เที่ยงหรือไม่เที่ยงดังนี้. ข้อว่าความไม่แน่นอน เพราะไม่ตกลงใจ เพราะ
ไม่สามารถจะถือเอาส่วนเดียวได้. ชื่อว่าความไม่ตกลงใจ เพราะไม่สามารถ
จะตัดสินใจถอยจากอารมณ์ได้. ชื่อว่าไม่อาจตัดสินใจ เพราะไม่สามารถ

จะหยั่งลงไปโดยรอบได้. ชื่อว่าไม่กำหนดถือเอาได้ เพราะไม่สามารถจะ
กำหนดเอาได้. ชื่อว่าความที่จิตหวั่นไหว เพราะไม่สามารถเพื่อเป็นไป
ในอารมณ์ ด้วยความแน่ใจได้. อธิบายว่า ความที่จิตผูกพัน. จริงอยู่
ความสงสัยเกิดขึ้นแล้วย่อมทำให้จิตผูกพัน. อนึ่ง เพราะความสงสัยนั้น
เมื่อเกิดยึดอารมณ์ไว้ดุจขีดเขียนใจ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มโนวิเลโข
ความติดขัดในใจ.
บทว่า วิทฺโธ แทงเข้าไป คือได้ประหารด้วยลูกศร. บทว่า ผุฏฺโฐ
ถูกต้องแล้ว คือเสียบเข้าไป. บทว่า ปเรโต เสียบติดแน่น คือกดลงไป
บทว่า ธาวติ ย่อมแล่น คือวิ่งไปข้างหน้า. บทว่า วิธาวติ แล่นพล่าน
คือไปโดยวิธีต่าง ๆ. บทว่า สนฺธาวติ วนเวียน คือแล่นไปโดยเร็ว.
บทว่า สํสรติ ท่องเที่ยวไป คือเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้. บทว่า อเจลโก
คนเปลือย คือเปลือยไม่มีผ้านุ่ง. บทว่า มุตฺตาจาโร คือ ไร้มารยาท. ไม่
ประพฤติเยี่ยงกุลบุตรชาวโลก ในการถ่ายอุจจาระเป็นต้น ยืนถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ ยืนเคี้ยวกินอาหาร. บทว่า หตฺถาวเลขโณ เลียมือ คือเมื่อ
ก้อนข้าวในมือหมดก็เลียมือ. ถ่ายอุจจาระแล้วสำคัญว่าไม้ชำระอยู่ในมือ
เอามือเช็ด. ได้ยินว่า พวกอเจลกเหล่านั้นบัญญัติไม้ชำระว่าเป็นสัตว์. ชื่อว่า
นเอหิภทนฺติโก เพราะเมื่อเขากล่าวว่า เชิญมารับอาหารซิท่าน ก็ไม่มา.
ชื่อว่า นติฏฺฐภทนิติโก เพราะแม้เมื่อเขากล่าวว่า ถ้ากระนั้นเชิญหยุด
ก่อนซิท่าน ก็ไม่หยุด. นัยว่า ผู้ถูกศรทิฏฐิปักติดนั้นไม่ทำแม้ทั้งสองอย่าง
ด้วยคิดว่า จักเป็นอันกระทำตามถ้อยคำของเขาแล้ว.
บทว่า นาภิหฏํ คือ ไม่รับภิกษุที่เขาแบ่งไว้ก่อน. บทว่า น อุทฺทิสฺส
กตํ
คือไม่รับภิกษาที่เขาบอกอย่างนี้ว่า นี้ทำเฉพาะท่าน. บทว่า น นิมนฺ-

ตนํ คือ ไม่ยินดี ไม่รับแม้ภิกษาที่เขานิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์เข้าไปยัง
ตระกูล ถนน หรือบ้านโน้นเถิด. บทว่า น ภุมฺภิมุขา คือ ไม่รับภิกษา
ที่เขาคดจากหม้อถวาย. บทว่า น กโฬปิมุขา หม้อข้าวหรือกระจาด
ชื่อว่า กโฬปิ ไม่รับภิกษาจากหม้อข้าวนั้น. เพราะเหตุไร. เพราะ
หม้อข้าวทั้งหลายย่อมได้การกระทบด้วยทัพพี เพราะอาศัยเรา.
บทว่า น เอฬกมนฺตรํ คือ ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมธรณีประตู
ถวาย เพราะเหตุไร. เพราะผู้นี้อาศัยเราจึงยืนคร่อมประตู. แม้ในการยืน
คร่อมท่อนไม้และสากก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บุทว่า ทฺวินฺนํ คือ ไม่รับภิกษา
เมื่อคนสองคนกำลังบริโภคอาหารอยู่. คนหนึ่งลุกขึ้นมาถวาย. เพราะ
เหตุไร. เพราะมีอันตรายจากดำข้าว. อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า
น คพฺภินิยา ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ดังนี้ต่อไป ทารกในท้องของ
หญิงมีครรภ์ย่อมลำบาก. เมื่อทารกกำลังดื่มจะเป็นอันตรายเพราะน้ำนมได้.
ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียกับบุรุษ เพราะจะเป็นอันตรายแก่ความ
อภิรมย์ของหญิงที่อยู่กับชาย. บทว่า น สงฺกิตฺตีสุ คือ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ
กันทำไว้. ได้ยินว่า ในสมัยข้าวยาก พวกสาวกของอเจลกชวนกันให้นำ
ข้าวสารเป็นต้นมาหุงข้าว เพื่อประโยชน์แก่พวกอเจลก. อเจลกที่เคร่งครัด
ไม่ยอมรับจากอาหารนั้น. บทว่า น ยตฺถ สา คือ ไม่รับภิกษาที่เขาไม่
ให้แก่สุนัข ในที่ที่สุนัขคิดว่า เราจักได้ก้อนข้าว ซึ่งเขาเลี้ยงดูนำมาถวาย.
เพราะเหตุไร. เพราะจะเป็นอันตรายแก่ก้อนข้าวของสุนัขนั้น.
บทว่า สณฺฑสณฺฑจารินี คือ ไม่รับอาหารที่มีแมลงวันไต่ตอม.
เพราะหากว่ามนุษย์ทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว คิดว่า เราจักถวายภิกษาแก่
อเจลกนี้ จึงเข้าครัว เมื่อมนุษย์เข้าไป แมลงวันที่เกาะอยู่บนปากหม้อข้าว

เป็นต้น จะกระโดดบินเป็นกลุ่มๆ หนีไป. จึงไม่รับภิกษาที่นำมาจากหม้อ
นั้น. เพราะเหตุไร. เพราะอาศัยเราจะเกิดอันตรายแก่อาหารของแมลงวัน
ทั้งหลาย. บทว่า ถุโสทกํ คือ ยาดองทำด้วยเครื่องปรุงคือข้าวทุกชนิด.
ในบรรดาสิ่งเหล่านี้สุราบานเท่านั้นมีโทษ. แต่อเจลกนี้ มีความสำคัญ
ในวัตถุทุกชนิดว่ามีโทษ. บทว่า เอกาคาริโก รับภิกษาที่เรือนหลังเดียว
คือได้ภิกษาในเรือนหลังเดียวเท่านั้นก็กลับ. บทว่า เอกาโลปิโก คือ ยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวคำเดียวเท่านั้น. แม้ในบทว่า ทฺวาคาริโก ยิ่ง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวสองคำเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา คือ ในถาดน้อยใบเดียว. ถาดเล็ก ๆ ใบหนึ่งชื่อว่า
ทตฺติ. ใส่ภิกษาเลิศลงในถาดเล็กใบนั้น. บทว่า เอกาหิกํ คือ บริโภค
อาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่ง. บทว่า อฑฺฒมาสิกํ คือ บริโภคอาหาร
ที่เก็บไว้กึ่งเดือนบ้าง. บทว่า ปริยายภตฺตโภชนํ คือ บริโภคอาหาร
ที่เวียนมาถึงตามวาระ. บริโภคอาหารที่มาถึงตามวาระอย่างนี้ วันหนึ่ง
สองวัน เจ็ดวัน กึ่งเดือน. บทว่า สากภกฺโข มีผักดองเป็นภิกษาเป็นต้น
มีความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า อุพฺภฏฺฐโก เป็นผู้ยืนตรง คือยืนตรง. บทว่า อุกฺกุฏิกปฺ-
ปธานมนุยุตฺโต
เป็นผู้ประกอบความเพียรในการกระหย่ง คือเดินกระหย่ง
กระโดดไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก นอนบนหนาม คือปักหนามเหล็ก
หรือหนามธรรมดาลงบนแผ่นดิน แล้วปูหนังลงบนนั้น ยืนและจงกรม
เป็นต้น. บทว่า เสยฺยํ คือ แม้นอนก็สำเร็จการนอนบนหนามนั้นนั่นเอง.
บทว่า ผลกเสยฺยํ คือ นอนบนแผ่นไม้กระดาน. บทว่า ถณฺฑิลเสยฺยํ

คือ นอนบนเนินดินมีพื้นดินสูง. บทว่า เอกปสฺสสยิโก คือ นอนตะแคง
ข้างเดียวเท่านั้น.
บทว่า รโชชลฺลธโร หมักหมมด้วยธุลี คือเอาน้ำมันทาร่างกาย
แล้วยืนในที่ที่หมักหมมด้วยธุลี. แต่นั้นธุลีย่อมติดในร่างกายของเขาหมัก-
หมมธุลีนั้นไว้. บทว่า ยถาสนฺถติโก นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้ คือ
พอใจอาสนะที่ได้ แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้นั้นเป็นปกติ. ในบทว่า
เวกฏิโก คูถเรียกว่า วิกฏํ คือ บริโภคคูถ. บทว่า อปานโก คือ ห้าม
ดื่มน้ำเย็น. ชื่อว่า สายตติยกํ คือ อาบน้ำวันละ 3 ครั้ง, ประกอบ
ความขวนขวายในการลงอาบน้ำด้วยตั้งใจว่า เราจักลอยบาปวันละ 3 ครั้ง
คือเช้า กลางวัน เย็น.
บทว่า เต สลฺเล อภิสงฺขโรติ สัตว์นั้นย่อมปรุงแต่งลูกศรเหล่านั้น
คือยังลูกศร 7 ลูก มีราคะเป็นต้นให้เกิด. บทว่า อภิสงฺขโรนฺโต เมื่อ
ปรุงแต่ง คือเมื่อให้เกิด. บทว่า สลฺลาภิสงฺขารวเสน ด้วยสามารถ
แห่งการปรุงแต่งลูกศร คือเพราะเหตุให้ลูกศรเกิด. บทว่า ปุรตฺถิมํ
ทิสํ ธาวติ
คือ แล่นไปสู่ทิศตะวันออก. บทว่า สลฺลาภิสงฺขารานํ
อปฺปหีนตฺตา
เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารคือลูกศรไม่ได้ คือเพราะละการ
ประกอบลูกศรไม่ได้. บทว่า คติยา ธาวติ คือ แล่นไปในคติ. บทว่า
คติยา คตึ คือ จากคตินี้สู่คติโน้น. บทว่า น สีทติ คือ ไม่จม. บทว่า
น สํสีทติ คือ ไม่จมโดยรอบ. บทว่า น โอสีทติ คือ ไม่ล่มลง. บทว่า
น อวสีทติ คือ ไม่จมลง. บทว่า น อวคจฺฉติ คือ ไม่ตกลงไปเบื้องต่ำ.
เมื่อสัตว์ทั้งหลายตกลงไปด้วยลูกศรมีอานุภาพใหญ่อย่างนี้ พึงทราบ
คาถามีอาทิว่า ตตฺถ สิกฺขานคียนฺติ ยานิ โลเก คธิตานิ สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมกล่าวถึงการศึกษาในเพราะกามคุณเป็นที่พัวพันในโลก ดังนี้.
บทนั้นมีอธิบายดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมกล่าวถึง หรือย่อมเรียนการ
ศึกษาไม่น้อย มีการศึกษาเรื่องช้างเป็นต้น อันเป็นนิมิตในเพราะ
กามคุณที่ท่านกล่าวว่าเป็นที่พัวพัน เพราะพัวพันด้วยกามคุณ 5 ในโลก
หรือเพราะพัวพันในกาลนาน ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต
ตลอดเวลาที่ขวนขวายต่อสู้อยู่กับโลก ไม่พึงน้อมไปในความกำหนัดเหล่า
นั้น หรือในการศึกษาเหล่านั้น พึงรู้ชัดกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง
ด้วยการเห็นความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นโดยแท้ พึงศึกษาความดับของ
คนเท่านั้น. บทว่า ปฏิวิชฺฌิตฺวา คือ แทงตลอดด้วยญาณ.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อ
การดับ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สจฺโจ สิยา บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า สจฺโจ คือ ประกอบด้วยวาจาสัจ ญาณสัจ
มรรคสัจ. บทว่า ริตฺตเปสุโณ ปราศจากคำส่อเสียด คือละคำส่อเสียด.
บทว่า เวววิจฺฉํ คือ ความตระหนี่.
บทว่า นิทฺทํ ตนฺทึ สเห ถีนํ บุคคลพึงปราบความหลับ ความ
เกียจคร้าน ความท้อแท้ คือพึงครอบงำธรรม 3 อย่างเหล่านี้ คือความ
ง่วงเหงาหาวนอน 1 ความเกียจคร้านทางกาย ความเกียจคร้านทาง
ใจ 1. บทว่า นิพฺพานมนโส คือ เป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
บทว่า กายสฺส อกลฺยตา ความที่กายเป็นไข้ คือความที่นามกาย
อันได้แก่ขันธ์ 3 เป็นไข้. ก็เพราะความไข้ท่านเรียกว่า อกลฺลโก เป็นโรค.
แม้ในวินัยท่านก็กล่าวไว้ว่า นาหํ ภนฺเต อกลฺลโก ท่านขอรับ ผมไม่
เป็นไข้. บทว่า อกมฺมญฺญตา ความที่กายไม่ควรแก่การงาน คืออาการ

ไม่ควรแก่การงาน กล่าวคือความที่กายเจ็บป่วยลง. ชื่อว่า โอนาโห
อาการที่หยุด เพราะยังกายให้หยุด ดุจเมฆยังอากาศให้หยุดฉะนั้น.
อาการที่หยุดโดยทุก ๆ ส่วนชื่อว่า ปริโยนาหะ คือ อาการที่พัก. ชื่อว่า
อนฺโต สโมโรโธ เพราะพักผ่อนในภายใน. ชื่อว่า มิทฺธํ เพราะง่วง.
อธิบายว่า ลำบากเพราะความไม่ควรแก่การงาน. ชื่อว่า สุปฺปํ เพราะ
เป็นเหตุหลับ. ชื่อว่า ปจลายิกา เพราะทำให้หนังตาหลุบลง. บทว่า
สุปนา สุปิตตฺตํ กิริยาที่หลับ คือความเป็นผู้หลับ แสดงถึงอาการ. บทว่า
โอลิยนา ความหดหู่ คืออาการที่หดหู่ บททีสองเพิ่มอุปสัค. บทว่า ลีนํ
ความท้อแท้ คืองอไม่ผึ่งผาย. อีกสองบทนอกนี้ แสดงถึงความเป็น
อาการ. บทว่า ถีนํ ความหงอยเหงา คือตั้งอยู่เป็นก้อน เพราะไม่
กระจายเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา แสดงถึงอาการหงอยเหงา คือ
ความเป็นผู้หงอยเหงา ชื่อว่า ถียิตตฺตํ อธิบายว่า ถูกผูกมัดไว้ไม่ผึ่งผาย.
บทว่า สพฺพสงฺขารธาตุยา คือ สังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง.
บทว่า จิตฺตํ ปฏิวาเปตฺวา คือ ยังจิตให้กลับ. บทว่า เอตํ สนฺตํ
ธรรมชาตินี้สงบ คือนิพพานนี้ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลส ชื่อว่า
ประณีต เพราะไม่เดือดร้อน.
บทว่า อุปธิสุขสฺส เหตุ เพราะเหตุ แห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ คือ
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทาน เพราะเหตุแห่งกามสุขอัน เป็นความเกิดที่
ชั่ว. บทว่า กามญฺจ เต อุปธิ ปริกฺขยาย แต่บัณฑิตเหล่านั้นให้ทาน
เพื่อความหมดสิ้นแห่งอุปธิโดยแท้ คือบัณฑิตเหล่านั้นให้ทานเพื่อความสิ้น
กามโดยแท้. บทว่า อปุนพฺภวาย เพื่อไม่เกิดอีก คือเพื่อนิพพาน. บทว่า
ฌานานิ ภาเวนฺติ เจริญฌาน คือยังปฐมฌานเป็นต้นให้เจริญ. บทว่า

ปุนพฺภวาย คือ เพื่อเกิดใหม่. บัณฑิตเหล่านั้นเป็นผู้ให้เพราะมุ่งต่อ
นิพพาน.
บทว่า สาหสา ความผลุนผลัน คือเพราะเหตุความผลุนผลันมี
ราคจริตเป็นต้นของผู้กำหนัด.
บทว่า ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย คือ ไม่พึงพอใจรูปเป็นต้นในอดีต.
บทว่า นเว คือ ในปัจจุบัน . บทว่า หียมาเน คือ พินาศ. บทว่า
อากสฺสํ น สิโต สิยา ไม่พึงเป็นผู้อาศัยกิเลสที่เกี่ยวข้อง คือไม่พึงเป็น
ผู้อาศัยตัณหา. จริงอยู่ ตัณหาท่านเรียกว่า อากสฺส เพราะเกี่ยวข้องกับรูป
เป็นต้น. บทว่า เวมาเน แปรไป คือไม่เป็นอยู่. บทว่า วิคจฺฉมาเน
หายไป คือปราศจากไป. ปาฐะสองอย่าง คือ อากาสติ อากสฺสติ
แปลว่า เกี่ยวข้อง.
หากถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็นผู้อาศัยกิเลสที่เกี่ยวข้อง พึง
ทราบพระคาถาว่า เพราะเรากล่าวความกำหนัดนี้ว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่
ดังนี้.
บทนั้น มีความดังนี้ เพราะเรากล่าวตัณหาคือความเกี่ยวข้องนี้ว่า
เป็นความกำหนัด เพราะกำหนัดในรูปเป็นต้น และกล่าวว่า เคธะ
ความอยาก. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก. มีดังต่อไปนี้ :- เรากล่าวความ
กำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ เพราะอรรถว่า ท่วมทับ กล่าวว่า เป็นความ
ว่องไว อรรถว่า ไปไว กล่าวว่า เป็นความปรารถนา เพราะคอยกระซิบว่า
นี้ของเรา กล่าวว่า เป็นอารมณ์ เพราะอรรถว่า ปล่อยได้ยาก และกล่าว
ว่า เป็นความหวั่นไหว เพราะอรรถว่า ทำความหวั่นไหว และกล่าวความ
กำหนัดนั้นว่า เป็นเปือกตมคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะ

อรรถว่า เป็นความห่วงใยของโลก และเพราะอรรถว่า ก้าวไปได้ยาก.
บทว่า อาจมํ ชื่อว่า อาจมะ เพราะมาว่องไวตั้งแต่ปฏิสนธิ. บทนี้เป็น
ชื่อของตัณหาให้ปฏิสนธิในภพใหม่อันมีวัฏฏะเป็นมูล. บทว่า ชปฺปนํ นี้เป็น
ชื่อของตัณหาอันเป็นความปรารถนา. บทว่า อารมฺมณมฺปิ วุจฺจติ ตณฺหา
แม้อารมณ์ก็เรียกว่าตัณหา คือท่านกล่าวว่า ตัณหาเกิดขึ้นในอารมณ์มีรูป
เป็นต้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะไม่สามารถปล่อยไปได้. บทว่า
กามปงฺโก เปือกตมคือกาม ชื่อว่าเปือกตม เพราะอรรถว่า จมลง
บทว่า กทฺทโม ความว่า หล่มคือกาม ชื่อว่าหล่ม เพราะอรรถว่า ติดอยู่.
ชื่อว่ากิเลส เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. ชื่อว่า ปลิโป โคลนคือกาม
เพราะอรรถว่า ให้ติดแน่นดุจยาง. ชื่อว่า ปลิเคโธ ความกังวลคือกาม
เพราะอรรถว่า ปิดทรงไว้. ความกังวลคือกามมิได้อาศัยช่องอันเป็น
ปริยายมีความกำหนัดเป็นต้นนี้ ด้วยประการฉะนี้.
พึงทราบคาถา มีอาทิว่า สจฺจา อโวกฺกมํ เป็นมุนีไม่ก้าวล่วง
สัจจะดังนี้ต่อไป. บทนั้นมีความดังนี้ ชื่อว่ามุนี เพราะปฏิบัติเพื่อความ
เป็นมุนี ไม่ก้าวล่วงสัจจะแม้ 3 อย่าง ดังที่กล่าวไว้แล้วในคราวก่อน
เป็นพราหมณ์ ตั้งอยู่บนบกคือนิพพาน ผู้นั้นแล เรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ
เพราะสละเสียได้ซึ่งอายตนะทั้งปวง. ในนิเทศไม่มีข้อควรกล่าว. มีอะไร
ยิ่งไปกว่านั้นอีก. พึงทราบคาถามีอาทิว่า สเว วิทฺธา ผู้นั้นแลมีความรู้
ดังนี้ต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ญตฺวา ธมฺนํ คือ รู้สังขตธรรมโดยนัยมีอาทิ
ว่า ความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า สมฺมา โส โลเก อิริยาโน ผู้นั้นอยู่

ในโลกโดยชอบ คือผู้นั้นอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะละกิเลสอันทำให้อยู่
โดยมิชอบ.
ก็เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ พึงทรามความว่า โย จ กาเม ผู้ใดข้ามพ้น
กามทั้งหลายดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคํ เครื่องข้อง
คือผู้ใดข้ามพ้นเครื่องข้อง 7 อย่างได้. บทว่า นาชฺเฌติ คือ ย่อมไม่
เพ่งเล็ง เพราะฉะนั้น บรรดาเธอทั้งหลาย เรากล่าวถึงผู้ปรารถนา
เพื่อจะเป็นอย่างนั้น.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า ยํ ปุพฺเพ ดังนี้ต่อไป. ในบทเหล่านั้น บทว่า
ปุพิเพ คือ กิเลสชาตและกรรมในอดีต ที่พึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึง
สังขารในอดีต. บทว่า ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจนํ กิเลสชาตเครื่องกังวล
มีราคะเป็นต้น อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภสังขารแม้ในอดีต อย่าได้มี
แก่ท่าน. บทว่า มชฺเณ เจ โน คเหสฺสติ หากท่านไม่ถือเอาสังขารใน
ท่ามกลาง คือหากท่านจักไม่ถือธรรมมีรูปเป็นต้นในปัจจุบันไซร้ ท่าน
จักเป็นผู้เข้าไปสงบประพฤติอย่างนี้.
บทว่า อพีชํ โรหิ จงทำให้สิ้นพืช ความว่า จงทำให้สิ้นพืช
ด้วยมรรคญาณ. บทว่า ราคกิญฺจนํ กิเลสชาตเครื่องกังวลคือราคะ
ความว่า บรรเทากิเลสคือราคะ แม้ในบทว่า โทหสกิญฺจนํ เป็นต้น ก็นัยนี้
เหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการบรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ได้ตรัสคาถาทั้งหลายต่อจากนี้ ด้วยทรงสรรเสริญพระอรหัตต่อไป.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความแห่งคาถามีอาทิว่า สพฺพโส โดย
ประการทั้งปวงดังนี้ต่อไป. บทว่า มมายิตํ การถือว่าของเรา คือทำความ

ถือว่าเป็นตนของเรา. หรือถือวัตถุว่านี้เป็นของเรา. บทว่าอสตา จ น โสจติ
และผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก เพราะสิ่งที่ถือว่าของเราไม่มีอยู่ คือไม่เศร้าโศก
เพราะเหตุไม่มีความยินดี เพราะความไม่มีอยู่เป็นเหตุ. บทว่า น ชียติ
คือ ไม่ถึงความเสื่อม. บทว่า อหุ วต เม คือ นามรูปของเราได้มีแล้วหนอ.
บทว่า ตํ วต เม นตฺถิ นามรูปย่อมไม่มีแก่เราหนอ คือนามรูปที่ได้
มีแล้วในอดีต บัดนี้ ไม่มีแก่เรา. บทว่า สิยา วต เม นามรูปของเรา
พึงมีหนอ คือเราไม่ได้นามรูปที่จักมีแก่เราหนอ บัดนี้เราจะไม่บรรลุ
โดยส่วนเดียว. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า ยสฺส นตฺถิ ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ดังนี้ต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจนํ ความกังวล คือธรรมชาติมีรูป
เป็นต้นอะไร ๆ. บทว่า อภิสงฺขตํ คือ อันกรรมควบคุมแล้ว. บทว่า
อภิสญฺเจตยิกํ คือ อันจิตประมวลเข้าแล้ว. บทว่า อวิชฺชาย เตฺวว ตัดบท
เป็น อวิชฺชาย ตุ เอว. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา เพราะดับด้วยความ
สำรอกโดยไม่เหลือ คือเพราะดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค อันได้แก่ความ
สำรอก.
บทว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ จงพิจารณาเห็นโลกโดยความ
เป็นของสูญ คือจงดูโลกโดยความเป็นของสูญด้วยอาการสองอย่าง คือ
ด้วยการกำหนดความไม่เป็นไปในอำนาจ 1 ด้วยเข้าไปพิจารณาสังขารโดย
ความเป็นของเปล่า 1. บทว่า อตฺตานุทิฏฺฐึ โอหจฺจ ถอนอัตตานุสทิฏฐิ
(ความเห็นเป็นตัวตน) เสียแล้ว คือถอนสักกายทิฏฐิ (ความเห็นเป็นเหตุ
ถือตัวถือตน). บทว่า เอวํ มจฺจุตโร สิยา พึงเป็นผู้ข้ามมัจจุราชได้
ด้วยอาการอย่างนี้ คือพึงเป็นผู้ข้ามมรณะได้ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า เอวํ

โลกํ อเวกฺขนฺตํ มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้. บทว่า
มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ มัจจุราชไม่เหลียวแลดู. บทว่า นาญฺญํ
ปฏฺฐยเต กิญฺจิ
บุคคลไม่ปรารถนาอะไร ๆ อื่น คือไม่ปรารถนาไม่ต้อง
การอย่างอื่นแม้มีประมาณน้อย. บทว่า อญฺญตฺร อปฺปฏิสนฺธิยา คือ นอก
จากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวทำเป็นบทเดียวด้วย
ประการฉะนี้. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า อนิฏฺฐุรี ไม่มีริษยา ดังนี้เป็นต้นต่อไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิฏฺฐุรี คือ ไม่มีริษยา. อาจารย์บางพวกกล่าว
ว่า อนิฏฺฐรี บ้าง. บทว่า สพฺพธิ สโม คือ เป็นผู้เสมอในอายตนะ
ทั้งปวง. อธิบายว่า เป็นผู้วางเฉย. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ใดไม่เศร้าโศกว่า นั้นไม่มีแก่เรา เราถูกถามถึง
บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ 4 อย่างในบุคคลนั้นนี้ว่า บุคคล
เป็นผู้ไม่มีริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะ
ทั้งปวง.
บทว่า นิฏฺฐุริโย คือ เป็นผู้ริษยา. ความเป็นผู้ริษยา ชื่อว่า
นิฏฺฐุริยํ คือ เป็นผู้ริษยา. ความเป็นผู้ริษยา ชื่อว่า นิฏฺฐุริยํ อธิบายว่า
คุณแม้มีประมาณน้อยก็ย่อมไม่มี เพราะอาศัยความเป็นผู้ริษยานั้น เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เขฬปาตนํ ถ่มน้ำลาย. บทว่า นิฏฺฐุริยกมฺนํ คือ
การทำความเป็นผู้ริษยา. จริงอยู่ คฤหัสถ์อาศัย คฤหัสถ์อยู่ หรือภิกษุอาศัย
ภิกษุอยู่ ครั้นโกรธด้วยเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็พูดว่าอาศัยผู้นั้นแล้ว
ไม่มีคุณแม้สักน้อย จึงทำเสมือนชื่อว่าความเป็นผู้ริษยา เสมือนถ่มน้ำลาย
แล้วเอาเท้าขยี้ฉะนั้น การกระทำของผู้นั้นเรียกว่า นิฏฐุริยกรรม คือ

การทำความเป็นผู้ริษยา. บทว่า อิสฺสา แสดงความเป็นสภาวะ คือ
ความริษยาสองอย่าง ต่อจากนั้นเป็นการแสดงความเป็นอาการ. สามอย่าง
นอกนั้น เป็นคำกล่าวโดยปริยาย. อนึ่ง ความริษยานั้น โดยลักษณะเป็นต้น
มีความหวงสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ มีความไม่ยินดีในสมบัตินั้นเป็นรส
มีความเพิกเฉยต่อสมบัติของผู้อื่นนั้นเป็นเครื่องปรากฏ มีสมบัติของผู้อื่น
เป็นปทัฏฐาน. บทว่า ลาเภปิ น อิญฺชติ ไม่หวั่นไหวแม้ในลาภ คือไม่
หวั่นไหวในเพราะการได้ปัจจัย. บทว่า อลาเภปิ คือ แม้ในการไม่ได้
ปัจจัยทั้งหลาย. มีอะไรยิ่งไปกว่านั้นอีก.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า อเนชสฺส ผู้ไม่หวั่นไหว ดังนี้เป็นต้น
ต่อไป. ในบทเหล่านั้นบทว่า นิสงฺขิติ ได้แก่ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาอภิสังขารมีปุญญาภิสังขารเป็นต้น. เพราะอภิสังขารนั้นอันบุญ
กรรมต่กแต่ง หรือย่อมตกแต่ง ฉะนั้น จึงเรียกว่า นิสงฺขิติ คือ อภิสังขาร.
บทว่า วิยารมฺภา ได้แก่ อภิสังขาร มีปุญญาภิสังขารเป็นต้นหลายอย่าง.
บทว่า เขมํ ปสฺสติ สพฺพธิ ย่อมเห็นความปลอดโปร่ง คือความ
ไม่มีภัยในที่ทั้งปวง. บทา อารมฺภา คือ การพยายามทำกรรมครั้งแรก.
บทว่า วิยารมฺภา คือ พยายามหลายอย่างสูงในรูป. บทนี้เป็นชื่อของ
กรรมอันยังปฏิสนธิให้เกิดใน 3 ภพ. เพราะฉะนั้น เว้นจากวิยารัมภะ
(ความพยายามยิ่งขึ้นไป) จึงเห็นอย่างนี้.
พึงทราบคาถามีอาทิว่า น สเมสุ ดังนี้เป็นต้นต่อไป. ในบท
เหล่านั้น บทว่า น สเมสุ คือ มุนี ไม่พูดถึงตนแม้ในบุคคลผู้เสมอตนด้วย
มานะมีอาทิว่า เราเป็นผู้เสมอกับเขา. แม้ในคนที่ต่ำกว่า ในคนที่สูงกว่า
ก็ไม่พูด. บทว่า นาเทติ น นิรสฺสติ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด คือ

ไม่ยึดถือ ไม่สละธรรมอะไร ๆ ในรูปเป็นต้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง
ชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังได้กล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงจบเทศนาด้วยธรรมเป็นยอด คือพระอรหัต.
จบอรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15

สารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16


ว่าด้วยกระแสเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ 8


[882] (ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า) พระศาสดาผู้มี
พระกระแสเสียงอันไพเราะ เสด็จจากภพดุสิตมาสู่ความ
เป็นพระคณาจารย์อย่างนี้ ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
เลย ทั้งไม่เคยได้ยินต่อใคร ๆ เลย.

[883] คำว่า แต่ก่อนนี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ความว่า ใน
กาลก่อนแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นด้วย
จักษุนี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำพรรษาที่บัณฑุ-
กัมพลศิลาอาสน์ ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ (ต้นทองหลาง) ในภพดาวดึงส์
อันหมู่เทวดาห้อมล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนคร โดยบันไดอันสำเร็จด้วยแก้ว
มณีในท่ามกลาง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าเว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่เคยเห็นใน
กาลก่อนเลย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก่อนแต่นี้ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย.
[884] บทว่า อิติ ในคำว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้ว่า
เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ เป็นศัพท์ประชุมอักขระ
เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท. คำว่า อายสฺมา เป็น
เครื่องกล่าวด้วยความรัก เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ เป็นเครื่อง
กล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นเครื่องกล่าวเป็นไปกับด้วยความ
ยำเกรง. คำว่า สารีบุตร เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมาย
เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นชื่อ เป็นความตั้งชื่อ เป็นความทรงชื่อ
เป็นเครื่องกล่าวถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เป็นเครื่องกล่าวเฉพาะ